Clubhouse แค่กระแสหรือของจริง

Clubhouse แค่กระแสหรือของจริง หลายคนที่ทักมาคุยเรื่อง Clubhouse ก็จะถามคล้ายๆกันหมด ขอรวบตอบในโพสต์นี้นะครับ (เป็น คหสต. ล้วนๆ) คำถามที่ว่า Clubhouse แค่กระแสหรือของจริง ? จะยืนระยะได้มั้ย จะเลิกเห่อรึเปล่า ? หลายคนพยายามหาคำตอบ แต่เชื่อว่า น่าจะยังตอบไม่ได้ ต้องดูกันไปซักพักก่อน ผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ แต่มีข้อสังเกตตามนี้ครับ สิ่งแรก Clubhouse ยังไม่เคยเจอ คือ “การแข่งขัน” ด้วยเทคโนโลยีแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็น innovation ที่ไม่มีใครทำได้เลย (นึกถึง Zoom, MS Teams แบบตัดวิดีโอทิ้ง ฟีเจอร์ยังเยอะกว

Clubhouse แค่กระแสหรือของจริง

Clubhouse แค่กระแสหรือของจริง

หลายคนที่ทักมาคุยเรื่อง Clubhouse ก็จะถามคล้ายๆกันหมด ขอรวบตอบในโพสต์นี้นะครับ (เป็น คหสต. ล้วนๆ)
คำถามที่ว่า Clubhouse แค่กระแสหรือของจริง ?
จะยืนระยะได้มั้ย จะเลิกเห่อรึเปล่า ?
หลายคนพยายามหาคำตอบ แต่เชื่อว่า น่าจะยังตอบไม่ได้ ต้องดูกันไปซักพักก่อน
ผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ แต่มีข้อสังเกตตามนี้ครับ
  1. สิ่งแรก Clubhouse ยังไม่เคยเจอ คือ “การแข่งขัน”
ด้วยเทคโนโลยีแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็น innovation ที่ไม่มีใครทำได้เลย
(นึกถึง Zoom, MS Teams แบบตัดวิดีโอทิ้ง ฟีเจอร์ยังเยอะกว่า Clubhouse)
แต่เชิงการสร้าง product มันโดดเด่นด้วยการออกแบบประสบการณ์ใหม่ของการใช้งาน ในรูปแบบที่คนยังไม่เคยเจอ
คุณค่าที่นำเสนอผู้ใช้ คือ อารมณ์พอดแคสต์หรือรายการวิทยุแบบมีคนมาร่วมฟังแบบสด แสดงความเห็นได้ หรือเวทีสัมมนาระดับนานาชาติ ที่ฟังได้ฟรีแบบไม่ต้องจ่ายเงิน
Clubhouse ทำหน้าที่นี้ได้ดี (แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อย ที่สมัครเสร็จ เข้าไปในแอพ เกิดความงง ว่าใช้งานยังไงวะ …)
แต่สิ่งที่ Clubhouse ขาด คือ secret sauce บางอย่างแบบที่ลอกเลียนแบบไม่ได้ หรือจะลอกก็ยาก ซับซ้อน ใช้เวลานาน
มีคนเอาแอพ Clubhouse ไปถอดรหัสโปรแกรม (Decompiling) พบว่า ระบบถ่ายทอดสดเสียงของ Clubhouse ใช้ซอฟท์แวร์ที่เรียกว่า “Real-Time Engagement Platform-as-a-Service (RTE-PaaS)” ของบริษัทสัญชาติจีน ชื่อ Agora (อยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ ตัวย่อ API)
นักลงทุนชื่อ Justin Caldbeck เคยทวีตข้อความว่า Clubhouse ใช้เวลาสร้างราว 1 สัปดาห์บนแพลตฟอร์ม Agora
แม้ว่าช่วงนี้อาจจะดูไร้คู่แข่ง แต่เชื่อว่าไม่นาน เพราะทั้ง Facebook และ Twitter ก็ทำบริการแบบนี้อยู่
ช่วงปลายปี 2020 Twitter ซื้อบริษัทที่ทำแอพชื่อ Breaker ที่เป็น Social Podcast เข้ามาสร้างบริการใหม่ เหมือนเป็น Clubhouse ของตัวเอง ชื่อ “Spaces”
กำลังเปิดให้คนบางกลุ่มทดสอบ
ส่วน Facebook ก็มีข่าวหลุดออกมาว่า Mark Zuckerberg สั่งให้ทีมงานเร่งพัฒนา product หรือฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่ได้แบบ Clubhouse ออกมา
ต้องให้เวลาเค้าหน่อย เชื่อว่าทั้ง 2 รายกำลังศึกษา Clubhouse แบบละเอียดครับ 🤣
เพราะแค่ลอก flow & UX + ฟีเจอร์ที่จำเป็นมา ก็ได้ Clubhouse ในอีกเวอร์ชั่นแล้ว
2. การมีสตอรี่ที่ดี
Clubhouse มีกลยุทธ์การสร้าง Growth ที่น่าสนใจ จากการผสมผสานกันระหว่างสตอรี่ที่ดี กับ วิธีการด้าน Growth Hacking ที่ดี
สตอรี่ที่ดี มี 2 เส้นเรื่อง คือ
  1. เส้นเรื่องแรก คือ การก่อตั้งโดย Paul Davison ร่วมกับ Rohan Seth อดีตพนักงาน Google ทั้งคู่ และตัว Paul เองเคยสร้างบริษัทแล้วถูก Pinterest ซื้อกิจการมาแล้ว (เป็นสตอรี่ของคนทำ tech มีไอเดียความฝัน ออกมาตั้งบริษัท สำเร็จ ขายให้กับรายใหญ่ รอปั้นตัวต่อไป)
  1. เส้นเรื่องที่ 2 คือ การมีนักลงทุน VC ระดับตัวท้อป 2 เจ้าของ Silicon Valley แย่งกันลงทุนตั้งแต่ช่วงก่อตั้งใหม่ๆ คือ a16z กับ Benchmark
ถ้าดูจากเกียรติประวัติการลงทุนของ VC firm ที่ชื่อว่า Andreessen Horowitz (a16z) ก็เคยลงทุนทั้ง Twitter, Facebook, Groupon, Airbnb, Foursquare, Skype, Jawbone มาแล้ว
ล้วนเป็นบริษัท startup ชื่อดังที่โตมาจากขั้นแบเบาะ จากการให้เงินทุนสนับสนุนของ a16z
แถม 2 หัวหอกของ VC รายนี้ เป็นคนดังผู้ทรงอิทธิพลในวงการ tech คือ Marc Andreessen (ผู้ก่อตั้ง Netscape) กับ Ben Horowitz (เคยอยู่ Netscape เช่นกัน แต่คนน่าจะรู้จักจากการเป็นคนเขียนหนังสือ ชื่อ The Hard Thing about Hard Things)
เส้นสาย connection ในวงการ tech เพียบแน่นอน
ส่วนฝั่ง Benchmark ซึ่งเป็น VC ที่มีประวัติการลงทุนที่แข็งแกร่งและสะสมมายาวนานเกือบ 30 ปี
เคยลงทุนทั้ง eBay, WeWork Twitter, Uber, Instagram, SnapChat, Yelp, Discord (หลายคนบอกว่า Clubhouse คล้ายกับ Discord มากในเรื่องฟีเจอร์และจุดขาย)
แต่ที่ Benchmark ไม่มีคนดังระดับเซเลบ แบบที่ a16z มี
(ในซีรีส์ Startup ก็ตื่นเต้นกันใช่มั้ย บริษัทลงทุน วิ่งมาต่อคิวยื่นข้อเสนอให้แซมซานเทคพิจารณา)
การที่ 2 VC ดัง แย่งกันเพื่อลงทุน แบบแข่งกัน bid ให้ Clubhouse เลือก เป็นเรื่องฮือฮาพอสมควร เพราะมีการล๊อบบี้กันหนัก ปล่อยข่าวลือออกมาตลอดเพื่อเกทับกัน
ข่าววงในบอกว่า a16z เสนอตัวเรื่องความเชี่ยวชาญในแพลตฟอร์มใช้เสียง และความชำนาญในตลาด consumer ที่จีน จะช่วยให้ขยายบริการไปจีนได้ (ซึ่งก็ทำได้จริงๆ แล้วก็โดนแบนไปแล้ว)
มีการใช้ connection ส่วนตัวไปดึง Kevin Hart นักแสดง comedian ที่ดังจากหนัง Jumanji มาโผล่อยู่ใน Clubhouse ได้
(พี่แกมีคนตามใน IG 100 กว่าล้าน ใน Twitter อีกเกือบ 40 ล้าน)
ในที่สุด a16z ก็ปิดดีลด้วยการเสนอให้ valuation สูงกว่า Benchmark แบบเยอะมาก จน Clubhouse ปฏิเสธไม่ลง ต้องรับเงินจาก a16z มาใช้ พร้อมกับบอร์ด 1 คน ชื่อ Andrew Chen อดีตหัวหน้าทีม Rider Growth ของ Uber
ข่าวบอกว่า a16z ให้ valuation บริษัทสูงถึงราวๆ 175–200M USD (2 เท่าของที่ Benchmark ให้)
ปกติเห็นแต่ startup ไปพิชขอเงินนักลงทุน
อันนี้ นักลงทุนดังแข่งกันพิช เพื่อแย่งลงทุนใน startup แค่นี้ก็เห็นแล้วว่าสตอรี่ดีแค่ไหน
3. การสร้าง Growth แบบ Hype สุดๆ
จากบอร์ด ที่เก่งเรื่อง Growth Hacking + ความเป็นเซเลบของ 2 หัวหอกแห่ง a16z เข้ามาช่วยสร้างการเติบโต และใช้พลัง Influencer เป็นตัวสร้าง Growth
  1. ใช้วิธีการ Exclusive invitation แบบ Gmail ยุคเริ่มเปิดตัว เพื่อสร้าง scarcity ทางฝั่ง Supply ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไปเพิ่ม demand ในตลาดให้เยอะๆ (กันดาร คือ สินทรัพย์ ยิ่งหายาก ยื่งมีค่า Demand > Supply หลายเท่าตัว ถึงจะเกิด) ด้านเทคนิค คือ วิธีการนี้ ช่วยควบคุมการเติบโต ไม่ให้เยอะมากเกินความสามารถของระบบ จนขยายการรองรับไม่ทัน
  1. ทวีตของ Elon Musk ก็ช่วยสร้าง Hype หนักๆ เช่น การ ทวีตเชิญปูตินบ้าง Kayne West บ้าง (รายการชื่อ The Good Time Show) มี Mark Zuckerberg มาร่วมรายการด้วย และวันนั้น Clubhouse ถึงกับล่มไปเลย
  1. มีการสร้าง Creator Pilot Program โดยการดึงตัวและจ้าง influencers ระดับโลก 40 คน จากหลายวงการ เข้ามาร่วมสร้าง hype จัดรายการ talk show ต่างๆ และเงินที่ระดมมาได้ จะเอามาขยายโปรแกรมนี้ด้วย แต่น่าจะขยายเป็นระดับภูมิภาคแทน โดยทำงานร่วมกับ influencer ดังๆของเอเชีย เช่น เกาหลี มีแทยอน Girl Generations มาเล่น
ขนาดของห้อง ระหว่างหลักร้อย พันต้น กับหกพันเต็มห้อง ความต่าง คือ ชื่อคนที่อยู่ข้างในกับห้องนั้น ที่จะดึง follower ตามมาอีกจำนวนมาก
4. ยังขาดรูปแบบ Business model ที่ชัดเจน
การได้รับเงินทุนเพิ่มมาอีก 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้ Clubhouse ตอนนี้เป็นยูนิคอร์นแล้ว ด้วยมูลค่ากิจการ ราวๆ 1 พันล้านดอลลาร์
แต่ยังหารายได้เข้าบริษัทไม่ได้เลยซักบาท
ผู้ใช้ก็ยังอยู่ในระดับล้าน แบบ 1 หน่วย (แต่คงขึ้นเป็น 2 digit ในอีกไม่นาน)
รูปแบบการหารายได้ที่คาดเดากัน เช่น
  1. การมีสปอนเซอร์ประจำห้อง ซึ่งก็เริ่มเห็นบ้างแล้วในระดับผู้ใช้ทำกันเองและมีแบรนด์มาสปอนเซอร์ (ซึ่งถ้าใครได้อ่าน terms & cons จะรู้ว่า เค้าห้ามทำแบบนี้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาต)
  1. ขายแบนเนอร์ประจำห้อง ทำได้ง่ายเช่นกัน
  1. ขาย Premium account ให้กับผู้ใช้เพื่อใช้จัดรายการพูดคุยต่างๆได้แบบไม่มีโฆษณา + ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่หลายคนอยากได้ เช่น การอัดเสียง เพื่อเอาไว้ฟังย้อนหลังได้
  1. จ่ายเงินเพื่อคอนเทนต์อะไรซักอย่างที่ exclusive เช่น เอกสารประกอบในงานนั้นๆ
  1. รับการบริจาค อาจจะเป็นรูปแบบของเหรียญต่างๆ หรือเป็นทิปส์
ถ้ามองระบบที่ช่วยให้ Creator หารายได้ เช่น OnlyFans , Patreon ถือว่า Clubhouse ยังคงใหม่มากสำหรับเรื่องนี้
รอดูตอนมีคู่แข่งรายใหญ่ ที่ออกมาแล้วให้ Creator สามารถ monetize ได้ หรือจ่ายเงินจ้างคนดังๆให้ย้ายแพลตฟอร์มเลย
กับตอนเปิดให้เข้าใช้แบบไม่ต้องมี invitation จะรับมือกับคนที่หลากหลายยังไง
Clubhouse เคยมีปัญหาเรื่องการจัดการภายในห้องมาแล้ว เช่น มีการตั้งห้องเพื่อให้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับ Covid 19 หรือตั้งห้องที่พูดสนับสนุนให้คนเข้าสู่ด้านมืด โลกซึมเศร้า และน่าจะมีอีกหลายเคสที่รออยู่
ถ้า Clubhouse ยังหาเงินเลี้ยงตัวเองไม่ได้ ต้องใช้เงินที่ระดมมา ไปต่อสู่แย่งชิง influencer อีก ก็น่าจะลำบากในระยะยาว กลายเป็นการต่อสู้ด้วยสายป่านการเงินแทน
ทั้งหมดทั้งปวง Clubhouse ถือว่าเก่งมากในการสร้าง Product & Growth  แต่ระยะยาว (ที่อาจจะไม่ยาวเท่าไหร่) คิดว่าถ้าไม่ถูกขาย ก็โดน social network ที่คนใช้ระดับร้อย-พันล้านคน ชนะได้อยู่ดี
คหสต ล้วนๆครับ 55
ปล.
สำหรับแบรนด์ ที่ไปสปอนเซอร์ห้อง Clubhouse
หรือห้องไหนก็ตาม ที่มีสปอนเซอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก Clubhouse
จะผิด terms & conditions ของการใช้งานแบบเต็มๆเลยนะครับ