ธนาคารไทย ยูนิคอร์น กับความหวังในการกอบกู้เอกราชด้านเทคโนโลยี

ธนาคารไทย ยูนิคอร์น กับความหวังในการกอบกู้เอกราชด้านเทคโนโลยี ธนาคารไทยนี่แหละ ความหวังในการยึดประเทศคืนจาก Grab และทวงเอกราชด้านเทคโนโลยีจากต่างชาติ ย้อนกลับไปซัก 10 ปีก่อน คงไม่มีใครคิดว่าธนาคาร จะมาทำอะไรแบบนี้ได้ คงเป็นเรื่องตลกมากๆ ถ้าจะบอกว่าธนาคารจะกลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี เพราะหน้าที่นี้ คงถูกฝากฝังและจับตามองไปที่ธุรกิจโทรคมนาคมที่อยู่กับเทคโนโลยีระดับแถวหน้าของโลกมาตลอด ทั้งเรื่องอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง อุปกรณ์ไฮเทคฉลาดๆทั้งหลาย แต่เวลาผ่านไปนับ 10 ปี บริษัทโทรคมนาคมไทย ยังคงทำได้แค

ธนาคารไทย ยูนิคอร์น กับความหวังในการกอบกู้เอกราชด้านเทคโนโลยี

ธนาคารไทย ยูนิคอร์น กับความหวังในการกอบกู้เอกราชด้านเทคโนโลยี

ธนาคารไทยนี่แหละ ความหวังในการยึดประเทศคืนจาก Grab และทวงเอกราชด้านเทคโนโลยีจากต่างชาติ
ย้อนกลับไปซัก 10 ปีก่อน คงไม่มีใครคิดว่าธนาคาร จะมาทำอะไรแบบนี้ได้
คงเป็นเรื่องตลกมากๆ ถ้าจะบอกว่าธนาคารจะกลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี เพราะหน้าที่นี้ คงถูกฝากฝังและจับตามองไปที่ธุรกิจโทรคมนาคมที่อยู่กับเทคโนโลยีระดับแถวหน้าของโลกมาตลอด ทั้งเรื่องอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง อุปกรณ์ไฮเทคฉลาดๆทั้งหลาย
แต่เวลาผ่านไปนับ 10 ปี บริษัทโทรคมนาคมไทย ยังคงทำได้แค่เพียงเป็น service provider เหมือนเดิม ไล่มาตั้งแต่ยุค 3G, 4G จนมา 5G
แม้ว่าจะพยายามกันมากแค่ไหน แต่ถ้าคนไม่ใช่ ทีมไม่ใช่ mindset ไม่ใช่
ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้
เพราะการพัฒนาสินค้าและบริการในยุค mobile first ในยุคที่คนต้องการโปรดักต์ที่สวยงามใช้ง่าย บริการที่ง่ายๆ
ต้องการความรวดเร็วและรอไม่ได้
ซึ่งมันใช้คนละทักษะและคนละศาสตร์กับการทำบริการเสริมต่างๆในอดีตมาก
เห็นได้จาก ไม่มีบริการไหนเลยจากค่ายมือถือที่ทำออกมามีผู้ใช้ในระดับที่สร้างอิทธิพลในชีวิตโลกออนไลน์ของคนไทยได้ เลย
นอกจากการพยายามขายพ่วง ผูกกับบริการหลัก ทั้งแจก ทั้งแถม หรือการเอาโปรดักต์ต่างประเทศมาแปะโลโก้ เปลี่ยน skin ใหม่ แล้วเรียกมันว่าเป็น product ของตัวเอง
สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยตลอดหลายสิบปีของค่ายมือถือ คือ การทำโปรโมชั่นที่สร้างความสับสนให้กับลูกค้า ทำเรื่องที่ควรจะให้เข้าใจง่าย กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
ทั้งที่ค่ายมือถือมีฐานผู้ใช้ในมือหลายสิบล้าน กึ่งผูกขาดอยู่ 3 ราย และฐานผู้ใช้ของแต่ละราย ใหญกว่าธนาคารมากๆ
น่าจะมีความได้เปรียบธุรกิจอื่นๆในการสร้าง impact และควรจะเป็นแนวหน้าของความเป็น tech company ในการต่อสู้จากการรุกรานด้านเทคโนโลยีจากต่างประเทศด้วยซ้ำไป
ตรงข้ามกับธนาคาร ที่พยายามทำเรื่องที่เข้าใจยากมากๆ อย่างการลงทุน เล่นหุ้น ซื้อกองทุน วางแผนการเงิน โอนเงินนู่นนี่ ให้กลายเป็นเรื่องง่าย
กดไม่กี่ครั้งในแอพก็ทำสิ่งที่ต้องการได้ โดยไม่ต้องไปสาขา หรือแม้กระทั่งคุยกับคน
บางครั้ง อยากได้อะไร แทบไม่ต้องคิดเองให้เปลืองสมอง แค่หยอดเงินไป AI ของแอปธนาคาร ก็จัดการให้แล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะใช้เงินแค่ไหน ก็ซื้อความสำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่เริ่มจากคน และนี่คือ สิ่งที่ยากที่สุดในการเปลี่ยนแปลง
นับวัน คนยิ่งขาดธนาคารไม่ได้ เพราะไม่ใช่แค่รับโอนเงิน แต่ยังลงทุน ซื้อของนู่นนี่ เลิกพกเงินสด และตอนนี้สั่งอาหารได้ด้วย
แต่นับวัน คนยิ่งไม่ใช้ SMS และไม่ใช้เบอร์โทรหาเบอร์ แต่ใช้ LINE ใช้ Facebook Messenger โทรหากันแทน
จะระดมคนจำนวนมากๆให้มารวมตัวกัน การสื่อสารหลักที่ใช้ ก็ผ่านแอป ที่ใช้อยู่บนโครงข่ายอะไรก็ได้
เป็นภาพสะท้อนของ 2 ธุรกิจใหญ่ ที่สวนทางกัน
ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจของไทย บริษัทใหญ่ๆก็แข็งแรงเหลือเกิน จะเป็นยักษ์ใหญ่มาจากไหนในโลก ถ้าได้เข้ามาทำมาหากินในไทย
ก็อยู่รอดยากมาก
ประวัติศาสตร์คงเห็นกันไปเยอะแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ออเรนจ์ ฮัทชิสัน คาร์ฟูร์ อิเซตัน โตคิว
ในประเทศไทย คงเป็นเรื่องที่ยากมาก ที่จะมี tech startup ไหน เติบโตขึ้นมาต่อสู้แข็งขันกับบริษัทใหญ่ๆของไทยได้
ยูนิคอร์นตัวแรกของไทย เชื่อว่าจะเป็นบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ธนาคารทำขึ้นมา
แต่สิ่งที่ส่วนตัวอยากเห็นสุด ไม่ใช่ยูนิคอร์นตัวแรก
แต่อยากเห็นการสนับสนุนของบริษัทใหญ่ๆ ช่วยผลักดัน ช่วยสร้างบริษัท tech ตัวเล็กๆ ให้ไปแข่งกับพวกบริษัทแบบเดียวกันจากประเทศเพื่อนบ้าน มากกว่าการทำแข่งเอง การซื้อตัวดึงตัว การลงทุนในบริษัท tech ต่างประเทศ เพียงอย่างเดียว
อยากให้ทำแบบจริงๆจังๆ ที่ไม่ใช่ ทำเพื่อ PR เป็นช่วงๆ แล้วก็หายไป
ประวัติศาสตร์เกาหลี เศรษฐกิจใหม่มาจากการสร้าง Chaebol Cluster
(จากที่เคยล้าหลังไทย และเคยมองไทยเป็น role model เมื่อนานมากแล้ว)
หรือ ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ก็มี Keiretsu ที่เป็น Business Networks ให้โอกาส พึ่งพาอาศัยกัน
ในญี่ปุ่นมี Keiretsu ใหญ่อยู่ 6 อัน อันนึงที่แข็งแกร่งมาก คือ รถยนต์ ที่เหนียวแน่นกันตั้งแต่บริษัททำชิ้นส่วนเล็กๆอย่างน๊อต ไปจนถึงบริษัทรถยนต์แบรนด์ใหญ่อย่างโตโยต้า ฮอนด้า
หรือจีนที่เป็นแบบนี้ได้ เพราะเติ้งเสี่ยวผิง สั่งให้ทีมงานไปศึกษาโครงสร้างของ Chaebol ของเกาหลี เพื่อเอามาปรับใช้ในรูปแบบของจีนเอง
จนเกิดเป็นกลุ่ม Business Group บริษัทแรกๆ เช่น Qingdao Haier ขึ้นมา
ทั้งสามประเทศ มหาอำนาจของเอเชีย ถึงได้มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งระดับโลกมาหลายสิบปี แข่งกับฝั่งตะวันตกได้
เพราะบริษัทใหญ่ สนับสนุนบริษัทเล็ก บางบริษัทมีการถือหุ้นไขว้กันไปมา ให้ความช่วยเหลือกันเพื่อไปสู้ในระดับโลก ไม่ใช่มาแข่งกันเอง ทำเองทุกอย่าง ตัดโอกาสบริษัทเล็กเติบโต
การเมืองทุกวันนี้เราก็แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากพออยู่แล้ว
ถ้าการทำธุรกิจ บริษัทใหญ่ก็แข่งกันเอง แถมลงมาตีบริษัทเล็กๆอีก
ก็เกิดช่องว่างให้บริษัทเทคโนโลยีต่างชาติเข้ามาเก็บเกี่ยว ยึดพื้นที่แบบทุกวันนี้
startup เราไม่แข็งแรง SME เราก็กำลังแย่ แล้วประเทศจะเหลือผู้ประกอบการไหนมาช่วยผลักดันเศรษฐกิจในอนาคตได้
ดัชนีชี้วัด Global Entrepreneur Index ที่เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจระดับชาติอันหนึ่ง
ไทยอยู่อันดับ 71 จาก 137 ประเทศ แพ้พวกเปรู ปานามา เปอร์โตริโก้ เลบานอน คอสตาริกา อีก
ตัวชี้วัดความสำเร็จ ไม่น่าจะใช่การมียูนิคอร์นตัวแรก
แต่น่าจะเป็นการเพิ่มจำนวน GEI ที่ contribute to GDP ให้เยอะๆ และสร้างความร่วมมือที่เป็น Business Network แบบเกาหลี ญี่ปุ่น จีน
นอกจากจะทำซีรีส์สนุก ขายระดับโลกได้แล้ว วิธีการทำสร้างเศรษฐกิจของเค้า เป็นสิ่งที่น่าศึกษามากๆ