ทำไม AIS ซื้อ 3BB

ขอเขียนบ้าง พอหอมปากหอมคอนะครับ 55 จริงๆแล้วทำ M&A ไม่ว่าจะควบรวมหรือซื้อเลย ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นมาทั่วโลก ในหลายประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างมาเลเซีย ปีก่อน ก็มีดีลควบรวมระหว่าง ดิจิ (Digi) เบอร์ 1 ของมาเลเซีย กับเบอร์ 3 คือ เซลคอม (Celcom) ส่วน แมกซิส (Maxis) ก็ยังเป็นเบอร์ 2 อยู่เหมือนเดิม แต่ส่วนแบ่งตลาดห่างจากเบอร์ 1 มาก เดิมที 3 บริษัทนี้ ส่วนแบ่งใกล้กันมาก คือ 20% บวกลบ สลับอันดับกันได้ตลอดเวลา การควบรวมนี้ เพื่อชนะกันให้เด็ดขาดมากขึ้น หรือในอินโดนีเซีย ก็มีก

ขอเขียนบ้าง พอหอมปากหอมคอนะครับ 55
จริงๆแล้วทำ M&A ไม่ว่าจะควบรวมหรือซื้อเลย ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นมาทั่วโลก ในหลายประเทศ
ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างมาเลเซีย ปีก่อน ก็มีดีลควบรวมระหว่าง ดิจิ (Digi) เบอร์ 1 ของมาเลเซีย กับเบอร์ 3 คือ เซลคอม (Celcom) ส่วน แมกซิส (Maxis) ก็ยังเป็นเบอร์ 2 อยู่เหมือนเดิม แต่ส่วนแบ่งตลาดห่างจากเบอร์ 1 มาก
เดิมที 3 บริษัทนี้ ส่วนแบ่งใกล้กันมาก คือ 20% บวกลบ สลับอันดับกันได้ตลอดเวลา การควบรวมนี้ เพื่อชนะกันให้เด็ดขาดมากขึ้น
หรือในอินโดนีเซีย ก็มีการควบรวมกันของบริษัทเบอร์ 3 (ส่วนแบ่งตลาด 13%) อย่าง Ooredoo กับ เบอร์ 4 (ส่วนแบ่งตลาด 7%) อย่าง CK Hutchison Holdings กลายเป็น Indosat Ooredoo
แต่ก็ยังตาม Telkomsel ผู้นำเบอร์ 1 ที่ครองส่วนแบ่งตลาดอินโดนีเซียกว่า 60% (ห่างมากอันนี้)
เคสที่ใหญ่ระดับโลกหน่อย อยู่ที่แคนาดา
ผู้ให้บริการรายใหญ่สุดในประเทศ ชื่อ Rogers Communications ขอซื้อกิจการของบริษัท Shaw Communications ด้วยมูลค่า 26,000 ล้านดอลลาร์ (ราวๆ เก้าแสนล้านบาท)
ทั้งคู่ให้บริการทั้งโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้าน เน็ตบ้าน เคเบิลทีวี มีเดีย มีครบเหมือนทรูบ้านเรา
แต่สุดท้ายถูกหน่วยงานที่ดูแลด้านการผูกขาด ปฏิเสธไป เพราะเกรงว่าการซื้อกิจการครั้งนี้จะนำไปสู่การผูกขาดการแข่งขัน และเดือดร้อนไปถึงประชาชนผู้ใช้บริการ
จนเกิดการเจรจาอีกรอบ ดีลใหม่ คือ ไม่ซื้อทั้งบริษัทแล้ว แต่ซื้อเฉพาะส่วนบริการมือถือจาก Shaw แทน
(มี 2 แบรนด์ คือ Freedom Mobile กับ Shaw Mobile)
รอดูว่าจะโดน regulator ปฏิเสธอีกรอบมั้ย และทุกครั้งที่เกิด M&A จะต้องมี regulator เข้ามากำกับเสมอ เพื่อดูเรื่องการแข่งขัน การผูกขาด ซึ่งมีผลกระทบกับผู้ใช้โดยตรง
  • ----------------------------------
เอไอเอส ซื้อ 3BB ได้ประโยชน์อะไร
  • ----------------------------------
มุมด้าน regulator มีคนเขียนไว้ดีแล้วครับ ขอพูดถึงมุมธุรกิจแบบล้วนๆแทน
กลยุทธ์ที่เอไอเอสใช้เป็นการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจประเภทเดียวกัน (เรียกว่า Horizontal Integration)
โดยการดำเนินกลยุทธ์สร้างความเติบโตจากภายนอก (External Growth) ด้วยการใช้วิธีการซื้อกิจการ (Takeover)
ประโยชน์ที่ได้ คือ
1. เป็นทางลัดสร้างความเติบโต
- Geographic expansion หรือการขยายไปยังพื้นที่ที่ตัวเองไม่มี เช่น จังหวัดที่ 3BB ยึดครอง แต่บริการของเอไอเอสยังขยายไปไม่ถึง
- รวมเพื่อความใหญ่ ฐานผู้ใช้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน พอใหญ่ขึ้น อำนาจต่อรองก็มากขึ้น และเกิด economies of scale (การประหยัดจากขนาด) ต้นทุนต่อหัวลดลง
- เกิด economies of scope (การประหยัดจากขอบเขต) คือ มีบริการที่หลากหลายขึ้นจากการเข้าถึงฐานลูกค้าอีกธุรกิจ ทำให้เกิดการ Cross-selling ได้ง่ายขึ้น เช่น เอไอเอส สามารถขายบริการเสริมอื่นๆ ให้กับลูกค้าของ 3BB และ บริการที่ 3BB มีอยู่ ก็เอามาขายให้ลูกค้าเอไอเอสได้เช่นกัน เช่น บริการ GigaTV , MonoMax , Cartoon Network และ HBO Go
- เกิด economies of speed ลดเวลาและต้นทุน ทำให้พัฒนาหรือขยายขอบเขตการให้บริการได้เร็วยิ่งขึ้น
2. เพิ่มมูลค่าให้กับราคาหุ้น ระยะสั้น หุ้นอาจจะขึ้น แต่ระยะยาว ผลของการควบรวม จะทำให้ต้นทุนต่ำลง กำไรมากขึ้น ก็จะสะท้อนไปที่มูลค่าหุ้นเอง
3. ลดการแข่งขันในธุรกิจ (ลดคู่แข่ง) ก็จะเหลือตัวหลักๆ คือ ทรู และ NT อดีตเบอร์ 3 ของปีก่อน
4. สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน (Synergies) มีอยู่ 5 แกนหลัก คือ
- Marketing & Sales Synergy การใช้ทีมขาย ช่องทางจัดจำหน่าย (3BB Shop, AIS Shop, Telewiz etc) สื่อและโฆษณา Branding ต่างๆ ร่วมกัน
- Investment Synergy การลงทุนต่างๆ เพื่อลดรายจ่ายต่อหน่วย เช่น ลงทุนผลิต นำเข้าอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตด้วยกัน จากโรงงานเดียวกัน พัฒนากล่อง Set Top Box ร่วมกัน (AIS Play Box, GigaTV Box)
- Cost Synergy ลดการลงทุนซ้ำซ้อน เช่น ในพื้นที่เดียวกัน สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกัน จะได้ประหยัด
- Operating Synergy ใช้ทีมงาน บุคคลากรร่วมกัน ใช้ตึก ใช้ออฟฟิศเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายต่อหน่วย เช่น ทีมติดตั้ง ทีม Call Center ทีมวิศวกร หรือ Sub-contract ที่ทั้ง 2 บริษัทใช้ในการขยาย ติดตั้ง และ support ลูกค้า
- Management Synergy ใช้ผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและลดรายจ่ายต่อหน่วย
5. เพิ่มรายได้ต่อหัว (Average Revenue Per User : ARPU) ให้สูงขึ้น จากเดิมเอไอเอสไฟเบอร์มี ARPU = 444 บาท/เดือน น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม = 525 บาท/เดือน
แต่ของ 3BB มี ARPU อยู่ที่ 598 บาท/เดือน เอามาถัวๆกัน น่าจะช่วยดึง ARPU ของเอไอเอสไฟเบอร์ขึ้นไปได้อีกหน่อย
6. Cross licensing ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่า ใบอนุญาตการให้บริการอินเตอร์เน็ตแบบที่ 1 ที่ทั้งคู่มี ต้องเสียส่วนแบ่งมั้ย เสียเท่าไหร่ แต่สามารถยุบเหลือ 1 ใบได้ เพราะใช้ใบอนุญาตร่วมกัน รวมไปถึง license อย่างอื่นที่น่าจะลดไปได้อีก
จะเป็นยังไงต่อไป ในมุมมองผู้ใช้งานอย่างเราๆ
อ่านต่อครับ ยังไม่จบ 55
  • ----------------------------------
บทสรุปกึ่งมโน
  • ----------------------------------
  • ดีลนี้เดาว่าน่าจะจบได้
เพราะสภาพการแข่งขันในตลาด ยังมี NT อยู่อีกเจ้า (บางคนลืมไปแล้ว 😂) เลยยังไม่ถึงกับเป็น Duopoly
อีกทั้งยังมีบริการอื่นที่ใช้แทนกันได้ คือ บริการอินเตอร์เน็ต 4G, 5G ที่ไม่ได้แพง (Fixed Broadband vs. Mobile Broadband)
เช่น ซิมเทพธอร์ของทรู ใช้ 5G Unlimited จำกัดความเร็ว 20 Mbps ก็ประมาณ 133 บาท/เดือน ของดีแทคก็มีแบบความเร็ว 30 Mbps ในราคาใกล้ๆกัน
พอยังเป็นตลาดแบบผู้เล่นน้อยรายอยู่ + ผู้ใช้มีตัวเลือกอื่นมาแทนได้ เงื่อนไขจะแตกต่างจากกรณีทรู-ดีแทค ที่จะเป็น Duopoly ไปเลย (แทบไม่ต้องนับ NT ในตลาดมือถือ)
  • หมากเกมนี้ เป็นการใช้กลยุทธ์ของผู้ท้าชิง (Challenger Strategy) ที่ยอมทุ่มเงินเพื่อขึ้นเป็นผู้นำ
  • ตอนนี้สถานะของทรู กลายเป็นผู้ท้าชิงซะเอง และด้วยทรัพยากรและความแข็งแกร่งที่ตัวเองมี น่าจะตอกกลับด้วย กลยุทธ์โจมตีแสกหน้า (Frontal Attack) เป็นการจู่โจมเพื่อชิงส่วนแบ่งทางการตลาดคืนจากผู้นำ โดยอาศัยทรัพยากรทั้งหมดที่มี เราน่าจะได้เห็นสงครามโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม กันช่วงนึง
  • กล่อง AIS Play Box กับ GigaTV Box น่าจะกลายเป็นกล่องเดียว อาจจะย้ายผู้ที่ใช้งาน GigaTV มาใช้ AIS Play Box เป็นหลัก
  • คอนเทนต์ในกล่อง GigaTV Box เช่น MonoMax, Cartoon Network, HBO Go น่าจะตามมาอยู่บน AIS Play Box ด้วย
  • เท่ากับว่ากล่อง AIS Play Box นี่จะมีคอนเทนต์ให้ดูเยอะมาก ไม่ต่างอะไรกับธุรกิจเคเบิลทีวี แค่ใช้อินเตอร์เน็ตแทน แทบจะ spin-off ออกมาเป็นอีกธุรกิจ OTT ได้อีกธุรกิจ
  • แข่งกับ True ID มันส์เลย
  • ถ้าจะ spin-off AIS Play ออกมา ทางที่น่าจะแข่งกับต่างชาติได้ด้วย คือ ต้องร่วมกับ ช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง ONE และ Workpoint แล้วทำเป็น OTT National Consortium ไปเลย (จากนั้นก็ทะยอยถอดคอนเทนต์ออกจาก YouTube ให้คอนเทนต์เด็ดๆ ดูได้เฉพาะแอปเดียว แบบนี้ถึงจะมีลุ้น...แต่เดาว่ายาก)
  • แบรนด์ที่ใช้ทำตลาด เดาว่า น่าจะเหลือแบรนด์เดียว คือ จากฝั่งเอไอเอส เพราะเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงและเป็นที่รู้จักมากกว่า และง่ายกว่าในการทำ marketing communication (ใช้พรีเซนเตอร์จัดเต็ม ชุดเดิมได้เลย)
จะออกมาเป็น AIS 3BB อีกแบรนด์ เป็นไปได้ เป็นช่วง transition ชั่วคราวกันลูกค้า 3BB งง
  • การปลดพนักงาน คิดว่ายัง เพราะธุรกิจยังไม่อิ่มตัว และยังโตได้อีก (คนใช้ทั่วประเทศยังหลัก ไม่ถึง 20 ล้านคน) เลยคิดว่า อาจจะมี relocate ย้ายแผนก ปรับทัพกันไปก่อน
  • ปัจจัยสำคัญของธุรกิจนี้ คือ Last mile หรือการเชื่อมต่อขั้นสุดท้ายไปถึงบ้าน เพราะมันจะขยายไม่ได้เลย ถ้าสายหรือโครงข่ายไปไม่ถึง (ต่างจากมือถือที่ไปตามอากาศ)
ความเร็วในการขยายพื้นที่จึงสำคัญมาก สามารถสร้างความได้เปรียบแบบผูกขาดแบบชั่วคราว (temporary monopoly) ในบางพื้นที่ได้เลย
  • น่าจะมีการทำ Joint Venture ร่วมกับธุรกิจอื่นๆ มากขึ้น เพื่อสร้างการเติบโต เพราะธุรกิจโทรคมนาคมตอนนี้โตแบบ 2 หลักนี่ยาก ต้องอาศัยการขยายแบบร่วมกับธุรกิจที่เติบโตเร็วและเยอะ
ทั้งในแบบที่เกี่ยวข้องกันกับธุรกิจเดิม (Integration) เช่น เอไอเอสไปลงทุนร่วมกับ SingTel และ SK Telecom เปิดบริษัทร่วมกันที่สิงคโปร์ ชื่อว่า ดิจิทัล เกมส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อทำธุรกิจเกมออนไลน์
และแบบที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย (Diversification) เช่น AISCB ที่ไปทำร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อให้บริการด้านการเงิน
เดาล้วนๆครับ ขอบคุณที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ 🙏