จังหวะ เวลา

จังหวะ เวลา ทำธุรกิจ นอกจาก เงินทุน ความรู้ ความมุ่งมั่นแล้ว อีก 1 สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ “เวลา” ในอดีต มีบริษัทใหญ่ๆจำนวนมาก ที่ประสบความล้มเหลว โดยมีปัจจัยหลักที่สำคัญคือ “ยังไม่ถึงเวลาของมัน” ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีไม่พร้อม ผู้ใช้ไม่พร้อม องคาพยพต่างๆไม่พร้อม บางอย่าง มาเร็วก่อนเวลาที่เหมาะสม บางอย่าง ก็มาช้ากว่าเวลาที่ควรจะมา ใน สามก๊ก มีหลายตอน ที่ให้บทเรียนเรา เรื่อง “ความสำคัญของจังหวะและเวลา” “ศึกเซ็กเพ็ก” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า “โจโฉแตกทัพเรือ” ขงเบ้งรับทัณฑ์บนจากจิวยี่ ที่ให้ขงเบ้

จังหวะ เวลา

จังหวะ เวลา

ทำธุรกิจ นอกจาก เงินทุน ความรู้ ความมุ่งมั่นแล้ว
อีก 1 สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ “เวลา”
ในอดีต มีบริษัทใหญ่ๆจำนวนมาก ที่ประสบความล้มเหลว โดยมีปัจจัยหลักที่สำคัญคือ
“ยังไม่ถึงเวลาของมัน”
ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีไม่พร้อม ผู้ใช้ไม่พร้อม องคาพยพต่างๆไม่พร้อม
บางอย่าง มาเร็วก่อนเวลาที่เหมาะสม
บางอย่าง ก็มาช้ากว่าเวลาที่ควรจะมา
ใน สามก๊ก มีหลายตอน ที่ให้บทเรียนเรา เรื่อง “ความสำคัญของจังหวะและเวลา”
“ศึกเซ็กเพ็ก” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า “โจโฉแตกทัพเรือ”
ขงเบ้งรับทัณฑ์บนจากจิวยี่ ที่ให้ขงเบ้งหาลูกเกาทัณฑ์จำนวน 10 หมื่น มาให้ได้ภายใน 10 วัน ไม่งั้นจะโดนประหาร
ขงเบ้งบอกว่า ขอแค่ 3 วันพอ
แต่ 2 วันแรก ก็เอาแต่นิ่งเฉยไม่ได้ทำอะไร จนโลซกร้อนใจ กลัวขงเบ้งโดนฆ่า
จิวยี่ก็ยิ้มย่องอยู่ในใจ เพราะได้โอกาสในการกำจัดศัตรูคนสำคัญ
แต่ในคืนสุดท้าย ขงเบ้งพาโลซกล่องเรือไปหาทัพโจโฉ
ในวันนั้นหมอกลงจัดมาก ทัพโจโฉกลัวเป็นอุบาย จึงระดมยิงเกาทัณฑ์จำนวนมหาศาล ใส่เรือหุ่นฟางของขงเบ้ง
สุดท้าย ได้เกาทัณฑ์เกิน 10 หมื่นดอก ในเวลาเพียงคืนเดียว
เพราะขงเบ้ง รู้ว่า ในวันที่ 3 จะมีหมอกลงจัด จึงออกอุบายแบบนี้
ขงเบ้งรู้ว่า …เมื่อไหร่ จะถึงเวลาที่ใช่
– – – – – – – – – – – – – –
อีกตอน คือ “ขงเบ้งเรียกลม”
ลมที่ว่า คือ ลมอาคเนย์ ซึ่งเป็นลมที่ชี้เป็นชี้ตายในการพัดพาไฟ ให้เผาทัพโจโฉ
กองทัพฝ่ายซุนกวนพร้อมรบเต็มที่ แต่ขาดเพียงลมอาคเนย์ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ชนะศึกนี้อย่างเด็ดขาด
ขงเบ้ง รู้ว่าจะมีลมอาคเนย์พัดมา 3 วัน จึงจัดฉากหลอกฝ่ายซุนกวน ทำทีเป็นว่า ตัวเองเรียกลมได้
ในขณะเดียวกันก็ส่งคู่หู ศิษย์เอกร่วมสำนักอย่าง “บังทอง” ไปลวงฝั่งโจโฉ ให้เอาโซ่ล่ามเรือแต่ละลำไว้ให้ติดๆกัน เพื่อลดความโครงเครง ทหารจะได้ไม่เมาคลื่น
เมื่อลมอาคเนย์พัดมา แผนที่ใช้ไฟโจมตีทัพโจโฉ จึงสัมฤทธิ์ผลอย่างงดงาม ทัพโจโฉแตกกระเจิง ไฟลุกลามเรือที่ถูกผูกติดกันอย่างรวดเร็ว
ไหม้เป็นจุลในพริบตา…
ขงเบ้ง รอจังหวะและเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างให้ตัวเองมีความน่าเกรงขาม เอาไว้กำราบฝ่ายซุนกวนในโอกาสต่อๆไป
และการอาศัยลมอาคเนย์ ก็เป็นจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ทำให้ประสบชัยชนะ
ถ้าใจร้อน ยกทัพตีโจโฉก่อนที่จะมีลมอาคเนย์พัดมา เราอาจจะไม่ได้เห็นแผ่นดินแบ่งเป็น สามก๊กเลย ก็เป็นได้
ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ “จังหวะ” และ “เวลา” ที่เหมาะสม
 
ความรอบคอบ การอดทนรอ ลงมือทำเมื่อมีจังหวะเวลาที่พร้อม ย่อมส่งผลให้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ทั้งในงาน หรือในการทำธุรกิจ มีสูง
 
เหมือนอย่างขงเบ้ง ที่ใช้ “เวลา” เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนยุทธศาสตร์การรบตลอดมานั่นเอง