Due Diligence ควรรู้อะไรบ้าง

ปกติแล้ว การทำ Due Diligence หรือเรียกกันสั้นๆว่าการทำ DD เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ในการตรวจสอบว่า สิ่งที่บริษัท (เราเรียกว่าผู้ขาย หรือ Seller) มานำเสนอกับนักลงทุน (เราเรียกว่าผู้ซื้อ หรือ Buyer) นั้นถูกต้อง เป็นความจริง ถูกต้อง สมเหตุสมผล

จากดีล SCB กับ Bitkub ความผิดถูก ขออนุญาตไม่พูดถึง
 
แต่อยากหยิบยกประเด็นน่าสนใจ สำหรับบริษัทที่กำลังหาหรือกำลังคุยกับนักลงทุนอยู่ เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยนะครับ
 
ปกติแล้ว การทำ Due Diligence หรือเรียกกันสั้นๆว่าการทำ DD เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ในการตรวจสอบว่า สิ่งที่บริษัท (เราเรียกว่าผู้ขาย หรือ Seller) มานำเสนอกับนักลงทุน (เราเรียกว่าผู้ซื้อ หรือ Buyer) นั้นถูกต้อง เป็นความจริง ถูกต้อง สมเหตุสมผล
 
ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าบริษัท ทรัพย์สิน หนี้สิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ คดีความ โครงสร้างผู้ถือหุ้น ประวัติผู้บริหาร คีย์แมน สัญญาจ้าง สัญญากับลูกค้า ความเสี่ยงต่างๆ รวมไปถึงสภาพตลาด อุตสาหกรรม คู่แข่ง ขั้นตอนการทำ DD นั้น ละเอียดมากน้อย แล้วแต่ผู้ซื้อกับผู้ขายจะตกลงกันในสัญญาที่เรียกว่า Due Diligence Agreement
 
หลักๆแล้ว จะดู Financial DD กับ Legal DD เป็นหลัก (ถ้าเป็นบริษัทเทคโนโลยี ก็จะดู Tech DD ด้วย) ถ้าเป็น Full DD นี่เรียกว่าแก้ผ้าหมดตัว ดูทุกอย่างแบบละเอียดยิบ มีไปสัมภาษณ์พนักงาน คู่ค้า ลูกค้าด้วย ทำกัน 6 เดือน หรือเป็นปีๆ
 
หลังจากตกลงกันได้ ขั้นตอนต่อไป คือ การแชร์ข้อมูลทุกอย่างที่ตกลงกันไว้ ใน Due Diligence List ในสิ่งที่เรียกว่า “Data Room” หรือห้องใส่ข้อมูล
 
ปกติเราก็จะทำกันง่ายๆ คือ แชร์กันง่ายๆทาง Google Drive, Dropbox แต่ข้อมูลพวกนี้ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นความลับ ก็จะต้องเพิ่มความปลอดภัยเพิ่มหน่อย เช่น ต้องตรวจสอบได้ว่าใครเข้าถึงข้อมูลบ้าง การปกป้องการดาวน์โหลดไฟล์
 

ส่วนของ Due Diligence Agreement จะมีใจความสำคัญ เช่น

 
 
  • Due Diligence Period หรือ ระยะเวลาที่ตกลงกันในการทำ DD ว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อไหร่ ซึ่งปกติแล้ว จะใส่วันและเวลาลงไปด้วย หลังจากนี้จะเรียกว่า Expiration date เหมือนที่เขียนติดข้างกล่องอาหารว่าหมดอายุเมื่อไหร่
  • Extended Period หรือ การขยายเวลาการทำ DD ออกไป จะ 30 วัน 60 วัน แล้วแต่กำหนด แต่ต้องแจ้งก่อน
  • Right to terminate หรือสิทธิ์ในการยกเลิกการทำ DD และสิ้นสุดกระบวนซื้อขายกัน ที่จะต้องมีการบอกเลิกโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน Expiration date กี่วัน
  • Earnest Money Deposit (เงินมัดจำ) อันนี้มักจะเป็นเคสซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีแบบ Refundable และ Non-refundable (ยกเลิก DD แล้วคืนเงินกับไม่คืนเงิน)
  • Due Diligence Fee หรือค่าทำ DD โดยปกติแล้ว คนซื้อต้องจ่ายก่อนหรือระหว่างการทำ DD เช่น ผู้ซื้อตกลงว่าจะต้องจ่าย DD Fee ที่ 1 ล้านบาท แล้วตกลงซื้อขายกันที่ 100 ล้านบาท ถ้าดีลจบ ตกลงกันได้ คนซื้อก็จะจ่าย 99 ล้านบาท หรือถ้าผู้ซื้อยกเลิกการทำ DD ก่อน ผู้ขายก็จะเก็บ 1 ล้านบาทนี้ไว้ เหมือนเป็นค่าชดเชยในถูกบอกเลิก
  • Non-compete Clause หรือข้อตกลงเรื่องการไม่แข่งขันกันในธุรกิจ ปกติแล้วจะมีข้อนี้ ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขาย มีโอกาสที่จะเป็นคู่แข่งขันทางธุรกิจกัน มีความสนใจทางธุรกิจเหมือนกัน
 
หลังจากทำ DD เสร็จ ผู้ซื้อก็จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ ไปนำเสนอผู้มีอำนาจตัดสินใจ ถ้าเป็น VC หรือบริษัท ก็จะเป็น Investment Commitee (IC) เพื่อขออนุมัติการลงทุน
ถ้าได้รับการอนุมติแล้ว ฝั่งผู้ซื้อก็จะออกเอกสารสัญญาที่เรียกว่า Term Sheets ที่เป็นเงื่อนไขการลงทุนทั้งหมดให้ทางผู้ขายรับทราบและตกลง
เมื่อตกลงกันได้ ผู้ซื้อก็จะทำสัญญา ข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement: SHA) และสัญญาการซื้อหุ้น (Share Subscription Agreement) หรือถ้าเป็นพวกเหรียญก็เรียกว่า Token Subscription Agreement เพื่อจบดีลและมีผลทางกฏหมายต่อไป
รู้ไว้เผื่อวันไหนมีคนมาลงทุนในบริษัทเรา แต่ถ้าจะทำ DD แฟนก่อนแต่งงาน ข้อมูลในโพสต์นี้ใช้ไม่ได้นะครับ 555